การท่องเที่ยวและบริการเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาลเข้าประเทศไทย ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และวัฒนธรรมที่หลากหลายมีความเป็นเอกลักษณ์ ทำให้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก อีกทั้งรัฐบาลมีนโยบายในการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยใช้การท่องเที่ยวช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวที่หลากหลาย และเชื่อมโยงสู่ภูมิภาคอื่น
กลุ่มจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมและทรัพยากรการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละจังหวัดและอีกมากมาย ซึ่งทำให้มีนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซียเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวธุรกิจด้านการท่องเที่ยวจึงนำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก และยังมีศักยภาพที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยปัจจัยหลายๆด้าน เช่น การเป็นเมืองการค้าชายแดน เมืองในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน จึงต้องมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงพัฒนามาตรฐานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและบุคลากรด้านการท่องเที่ยวสู่มาตรฐานสากล
ในการดำเนินงานโครงการ ได้รวบรวมข้อมูลเชิงกว้างและเชิงลึกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวตามความต้องการของผู้ใช้ ได้แก่ สถิติการท่องเที่ยว วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยว รวมถึงมาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิกอาเซียนตอนใต้ จัดทำเป็นฐานข้อมูลแสดงบนเว็บไซต์
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ ได้มีการจัดกิจกรรมหลากหลาย ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุมโต๊ะกลม ประชุมกลุ่มย่อย สัมภาษณ์ การประเมินเส้นทาง ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการท่องเที่ยวทุกภาคส่วนและกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยได้รวบรวมข้อมูลและจัดทำเป็นเอกสาร รายงาน สื่อการเรียนรู้ เผยแพร่บนเว็บไซต์ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (https://asean.psu.ac.th/tourism) ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวของ 5 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อเพิ่มนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนตอนใต้
Brochure: Colorful Songkhla | Brochure: เส้นทางที่ 1: สงขลาสู่เมืองมรดกโลก | Brochure: เส้นทางที่ 2: สะเดาเปิดประตูสู่อาเซียน |
แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล เพื่อเพิ่มนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนใต้ | |
![]() |
Brochure: เส้นทางที่ 1: สันหลังมังกร | Brochure: เส้นทางที่ 2: อุทยานธรณีโลก | Brochure: เส้นทางที่ 3: วังสายทอง |
![]() |
![]() |
![]() |
แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของสามจังหวัดภาคใต้ชายแดน เพื่อเพิ่มนักท่องเที่ยวจากอินโดนีเซียและประเทศสมาชิกอาเซียนใต้ | |
![]() |
Brochure: เบตง เมืองพหุวัฒนธรรม |
![]() |
ชุดที่ 1: นโยบายของภาครัฐเพื่อการพัฒนาและการส่งเสริมสนับสนุน
ตอนที่ 1: นโยบาย “รัฐ” เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว
ตอนที่ 2: จุดเด่นการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้ที่ภาครัฐต้องให้การส่งเสริมและสนับสนุน
ตอนที่ 3: “รัฐ”กับการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของกลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้
ตอนที่ 4: ความจริง..ตรงประเด็น กลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้
ตอนที่ 5: กลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้..การท่องเที่ยวยั่งยืน
ชุดที่ 2: การพัฒนามาตรฐานสินค้าและบริการด้านการท่องเที่ยวให้ประสบความสำเร็จ
ตอนที่ 1: มาตรฐานด้านการท่องเที่ยว..กลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้
ตอนที่ 2: ร่วมพลัง..เพื่อมาตรฐานการท่องเที่ยว
ตอนที่ 3: ของบ้าน..บ้าน ขึ้นห้าง
ตอนที่ 4: ตลาดล่าง..สู่..ตลาดบน
ตอนที่ 5: สร้าง “Brand” สร้าง “คน”
ชุดที่ 3: การพัฒนานวัตกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวใหม่และโลจิสติกส์
ตอนที่ 1: โลจิสติกส์..โลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว
ตอนที่ 2: จุดเด่นทางด้านโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้ (ความหลากหลายทางวัฒนธรรม)
ตอนที่ 3: จุดเด่นทางด้านโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยวของ กลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้ (เส้นทางการท่องเที่ยวทางกายภาพ)
ตอนที่ 4: นวัตกรรมโลจิสติกส์ด้านการท่องเที่ยว..เชื่อมโยงกลุ่มท่องเที่ยวจังหวัดชายแดนใต้
ตอนที่ 5: นวัตกรรมด้านโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว..เชื่อมโยงอาเซียนใต้
ชุดที่ 4: การพัฒนาการตลาดของการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดชายแดนใต้
ตอนที่ 1: Identity and Quality
ตอนที่ 2: ทำตลาด...มองแหล่ง
ตอนที่ 3: มองแหล่ง..มองตลาด
ตอนที่ 4: เที่ยวอะไร เที่ยวแบบไหน เที่ยวอย่างไร กลุ่มจังหวัดชายแดนใต้
ตอนที่ 5: ทำตลาดแบบไหน..ถูกใจอาเซียนใต้
ชุดที่ 5: การเชื่อมต่อกับอาเซียนใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
ตอนที่ 1: พี่-น้อง คาบสมุทรมาลายู
ตอนที่ 2: คุณค่าของความหลากหลายที่เป็นหนึ่งเดียว
ตอนที่ 3: วิถีอาหาร..วิถีชีวิต
ตอนที่ 4: รู้จัก IMT-GT
ตอนที่ 5: ความร่วมมือทางด้านการท่องเที่ยวใน IMT-GT
Documentary
Short VDO Clip